วันศุกร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2554

การเลี้ยงปลาดุกในบ่อซีเมนต์

การเลี้ยงปลาดุกในบ่อซีเมนต์ สามารถใช้ อี เอ็มในการยื่นอายุของการถ่ายเปลี่ยนน้ำ และลดการทำให้ปลาไม่เครียดจากการเลี้ยง ผู้เลี้ยงก็ต้องเปลี่ยนน้ำ 2-3 วัน/1 ครั้ง หน้าหนาว ปลาดุกมีโอกาศการเกิดโรคได้มากๆ ขอแนะนำ ควรลงมือเลี้ยงในฤดูฝน จะทำให้เลี้ยงงายและโตเร็ว
เกร็ดความรู้
  1. การซื้อพันธุ์ปลาก่อนการเคลื่อนย้ายให้ปลาอดอาหาร 1 – 2 วัน เพื่อป้องกันปลาดิ้นและทำให้ปลาไส้ขาดเวลาเลี้ยงปลาจะไม่โต
  2. การเคลื่อนย้ายปลาให้เตรียม น้ำมันพืช 30 ซีซี : เกลือ 1 ช้อนโต๊ะ คนให้เข้ากันตักใส่ในถุงหรือที่มีพันธุ์ปลา
อยู่ประมาณ 1 ช้อนชา เพื่อป้องกันปลาบาดเจ็บ
 3. การป้องกันปลาหนีจากบ่อเวลาฝนตก ใช่วิธีหากมีฝนตกให้หว่านอาหารให้ปลากิน สัก 2 – 3 ครั้ง
เพื่อหลอกว่าเวลาฝนตกจะได้กินอาหารแล้วปลาจะไม่หนี
 4. การเปลี่ยนถ่ายน้ำให้ดูดน้ำออก 1 ส่วน ใน 3 ส่วน และนำน้ำที่ใส่ใหม่ให้ทำเป็นละอองฝอยโดยใช้สายยางเพื่อเพิ่มออกซิเจนให้แก่ปลา
 5. การจับปลาเพื่อบริโภคโดยใช้วิธีใช้สายยางฉีดน้ำเหมือนกับฝนตกปลาจะเล่นน้ำ จากนั้นใช้สวิงตักปลา ที่เล่นน้ำทันที ปลาจะไม่รู้สึกถึงอันตรายและจะกินอาหารต่อและไม่หนี้
การทำอาหารปลาดุก ส่วนผสม
1. รำละเอียด 2 กระสอบปุ๋ย
2. กากมะพร้าว 1 กระสอบปุ๋ย
3. ปลาป่น 6 กิโลกรัม
4. กากถั่วเหลือง 6 กิโลกรัม
5. จุลินทรีย์ EM 1 ลิตร
6. กากน้ำตาล 1 กิโลกรัม
7. น้ำมันพืช 1 – 2 ลิตร

วิธีทำ
1. นำส่วนผสมข้อ 1 1 กระสอบ ข้อ 2,3,4 คลุกให้เข้ากัน
2. นำส่วนผสม ข้อ 5,6 ผสมน้ำ 20 ลิตร เพื่อคลุกเคล้าส่วนผสม ข้อ 1 หมักไว้ 12 ชั่วโมง
3. นำส่วนผสมที่หมักไว้ในข้อ 1,2 ผสมกับรำละเอียด 1 กระสอบและน้ำมันพืช 1 – 2 ลิตรคลุกเคล้านำเข้าเครื่องอัดเม็ดผึ่งแดด 2 วัน เก็บไว้ได้ 2 เดือน

สำหรับการเลี้ยงปลาดุกในบ่อซีเมนต์ (ลึกอย่างน้อย 30 ซม)
ควรปรับสภาพของน้ำในบ่อที่เลี้ยงให้มีสภาพเป็นกลางหรือเป็นด่างเล็กน้อย
แต่ต้องแน่ใจว่าบ่อซีเมนต์จะต้องหมดฤทธิ์ของปูน ระดับน้ำในบ่อเมื่อเริ่มปล่อยลูกปลาขนาด 2-3 ชม.
ควรมีความลึกประมาณ 20-30 เซนติเมตร เมื่อลูกปลาเติบโตขึ้นค่อย ๆ เพิ่มระดับน้ำให้สูงขึ้นตามลำดับ
โดยเพิ่มระดับน้ำประมาณ 5 ชม./อาทิตย์

ให้อาหารเม็ดประมาณ 3-7 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัวปลา
โดยปล่อยปลาในอัตรา 50-70 ตัว/ตรม. ตั้งแต่เดือนที่ 2 เป็นต้นไปให้อาหารวันละ 2 มื้อ เช้าเย็น
ปลาจะเติบโตได้ขนาดประมาณ 100-200 กรัม/ตัว ในระยะเวลาเลี้ยงประมาณ 90 วัน
อัตราการรอดประมาณ 80% ซึ่งอาหารที่ใช้เลี้ยงสามารถให้อาหารชนิดต่าง ๆ ทดแทนอาหารเม็ดได้
โดยใช้อาหารพวกไส้ไก่หรือปลาเป็ดผสมกับเศษอาหารหรือรำข้าวก็ได้
แต่จำเป็นต้องถ่ายเทน้ำเพื่อป้องกันน้ำเสีย


การเลี้ยงปลาดุก ในบ่อซีเมนต์ การเตรียมอุปกรณ์
1.ท่อปูนซีเมนต์ขนาด 100*50 เซนติเมตร
2.ท่อพีวีซี ขนาด 1 นิ้ว ยาว 20 เซนติเมตร จำนวน 1 เส้น และยาว 40 เซนติเมตร จำนวน 1 เส้น
3.ข้องอพีวีซีขนาด 1 นิ้ว จำนวน 1 อัน
4.ยางนอกรถสิบล้อจำนวน 1 เส้น
5.ยางนอกรถจักรยานยนต์จำนวน 1 เส้น
6.ตาข่าย
7.น้ำหมักสูตรเลี้ยงปลา
8.ปูน ทราย หิน
9.อาหารสำหรับเลี้ยงปลาดุก
10.พืชผักที่ปลากิน เช่น ผักบุ้ง ผักตบชวา ฯลฯ
11.ลูกปลาดุก 70-80 ตัว

       การเลี้ยงปลาดุก ในบ่อซีเมนต์ การเตรียมบ่อปูนซีเมนต์สำหรับเลี้ยงปลาดุก
1.จะต้องทำการฆ่ากรดฆ่าด่างในบ่อปูน โดยให้นำหัวกล้วยหรือโคนกล้วยมาสับให้เป็นชิ้นเล็กๆ นำมูลวัวมาผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน แล้วนำใส่ไปในบ่อใส่น้ำให้เต็ม แล้วหมักไว้ 5 วัน จากนั้นให้เปิดน้ำทิ้งแล้วเอาโคนกล้วยออกทิ้งด้วย



2.นำน้ำสะอาดใส่ไปในบ่อแล้วแช่ทิ้งไว้ 1 วัน หลังจากนั้นก็ให้เปิดน้ำทิ้ง


3.นำผักบุ้งมาถูให้ทั่วบ่อ ทิ้งไว้ตากบ่อให้แห้ง





การเลี้ยงปลาดุก ในบ่อซีเมนต์ การทำน้ำหมักสูตรเลี้ยงปลา
1.ถังพลาสติกที่มีฝาปิดจำนวน 1 ถัง
2.น้ำตาลทรายแดง 3 กิโลกรัม
3.ฟักทองแก่ 3 กิโลกรัม
4.มะละกอสุก 3 กิโลกรัม
5.กล้วยน้ำหว้าสุก 3 กิโลกรัม

วิธีทำน้ำหมักสูตรเลี้ยงปลา
หั่นมะละกอ, กล้วยน้ำหว้า, ฟักทองทั้งเปลือกและเมล็ดใส่ไว้ในภาชนะที่มีฝาปิด ผสมน้ำตาลทรายแดง แล้วคนให้เข้ากันและปิดฝาให้แน่นหมักทิ้งไว้ 7 วัน แล้วเติมน้ำสะอาด 9 ลิตร ปิดฝาให้แน่นแล้วหมักต่ออีก 15 วัน

ประโยชน์
-เป็นฮอร์โมนพืช เร่งดอก เร่งผล รสชาติหวานอร่อย
-ปลาไม่เป็นโรค
-ปลาไม่มีกลิ่นสาบ
-ปลาไม่มีมันในท้อง
-ปลาจะมีเนื้อหวานรสชาติอร่อย

การเลี้ยงปลาดุก ในบ่อซีเมนต์ การเลี้ยง
1.นำท่อปูนที่มีรอยคราบผักบุ้ง หรือบ่อปูนที่ไม่มีกรดไม่มีด่าง ใส่น้ำให้มีความสูง 10 เซนติเมตร (ช่วงปลาขนาดเล็ก เพิ่งนำมาปล่อย) แล้วเติมน้ำหมัก 1 ช้อนโต๊ะ
2.นำปลาดุกมาแช่น้ำในบ่อปูนทั้งถุง แล้วค่อยๆเปิดปากถุงให้ปลาว่ายออกมาเอง


3.วันแรกที่นำปลามาปล่อยไม่ต้องให้กินอาหาร
4.นำพืชผักที่ปลากิน เช่นผักบุ้ง ผักตบชวาและอื่นๆมาใส่ในบ่อ
5.การให้อาหาร ปลา 1 ตัวให้อาหาร 5 เม็ด/เมื้อ ในช่วงปลาเล็กให้อาหารวันละ 2 เมื้อ เช้า-เย็น ปลาอายุ 1 เดือนครึ่งให้อาหารปลาขนาดกลาง โดยให้อาหารวันละ 1 ครั้ง ให้ปลากินตอนเย็น

หมายเหตุ ก่อนให้อาหารต้องนำอาหารมาแช่น้ำก่อนเสมอประมาณ 10-15 นาที
เหตุผลเพื่อ
1.ปลาจะได้กินอาหารทุกตัว
2.ปลาตัวที่แข็งแรงจะทำให้ท้องไม่อืด
3.ปลาไม่ป่วย
4.การเจริญเติบโตใกล้เคียงกัน
5.อาหารไม่เหลือในบ่อและน้ำก็ไม่เสีย
6.ถ่ายน้ำทุกๆ 7 วัน หรือ 10 วัน/ครั้ง ทุกครั้งที่ถ่ายน้ำจะต้องใส่น้ำหมัก 1 ช้อนโต๊ะเสมอ

การเลี้ยงปลาดุก ในบ่อซีเมนต์ การจำหน่าย
1.ก่อนจะจำหน่าย 2 วัน ให้นำดินลูกรังสีแดงหรือซังข้าวมาแช่ไว้ในบ่อ จะทำให้ปลาดุกมีสีเหลืองสวย ขายได้ราคาดี
2.ปลาดุก 3 เดือนครึ่ง จำนวน 70 ตัว จะมีน้ำหนัก 14-15 กิโลกรัม หรือประมาณ 4-5 ตัว/กิโลกรัม จำหน่ายได้กิโลกรัมละ 60-70 บาท
3.ต้นทุนอาหารกิโลกรัมละ 19-20 บาท หมายเหตุ ต้นทุนครั้งแรก 1 ชุด 430 บาท น้ำที่ถ่ายทิ้งจากบ่อปลาสามารถนำมารดต้นไม้ พืชผักสวนครัว เป็นปุ๋ยอย่างดี


หมายเหตุ : ราคาที่จำหน่ายปลาขึ้นอยู่แต่ละพื้นที่ ต้นทุนการผลิตขึ้นกับวัสดุและอุปกรณ์ในแต่ละท้องถิ่น






การเลี้ยงปลาดุกอุย

ชื่อไทย              :            ดุกอุย
ชื่อสามัญ        :            GUNTHER'S WALKING CATFISH
ชื่อวิทยาศาสตร์    :            Clarias macrocephalus
ถิ่นอาศัย            :            มีอยู่ทั่วไปบริเวณลำคลอง หนองบึง ซึ่งมีพันธุ์ไม้น้ำปกคลุมและมีพื้นเป็นโคลนตม
อาหาร              :           สัตว์ ซากพืช และซากสัตว์
ขนาด                 :            ความยาวประมาณ 15-35 เซนติเมตร
ประโยชน์             :            เป็นปลาเศรษฐกิจที่ใช้เป็นอาหาร เนื้ออ่อนนุ่มสีเหลือง ยกย่องกันว่ามีรสชาติอร่อยกว่าปลาดุกด้าน


ปลาดุกอุย เป็นปลาน้ำจืดของไทยชนิดหนึ่งมีชื่อวิทยาศาตร์ ว่า Carias macrocephalus พบว่ามีการแพร่กระจายทั่วไปเกือบทุกภาค ของประเทศ ไทยและในประเทศใกล้เคียงเช่น มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ พม่า และบัง กลาเทศ ฯลฯ ปลาดุกอุยเป็นปลาที่มีรสชาติดดี ประชาชนชาวไทยโดย ทั่วไปนิยมรับ ประทานแต่มีราคาค่อนข้างสูงต่อมาเกษตรกรนิยมเลี้ยงปลาดุกด้าน ปลาดุกบิ๊กอุย (สำหรับปลาดุกบิ๊กอุยซึ่งเป็นปลาดุกลูกผสมจากพ่อปลาดุกอัฟริกัน กับแม่ปลา ดุกอุยซึ่งให้ผลผลิตและมีความต้านทานโรคสูง มีอัตราการเจริญเติบโตเร็ว) ทำ ให้เกษตรกรหันมาให้ความสนใจเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุยกันอย่างแพร่หลาย ทั่วทุก ภูมิภาค แต่อย่างไรก็ตามปลาดุกอุยก็นับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจาก เป็นที่ต้องการของเกษตรกรผู้เพาะพันธุ์ปลาโดยวิธีผสมเทียมในการผลิตลูก ปลา ดุกบิ๊กอุย เนื่องจากต้องใช้เป็นแม่พันธุ์ และผู้บริโภคที่พอใจในคุณภาพ ของเนื้อปลาดุกอุยที่อ่อนนุ่มและเหลืองน่ารับประทาน



ลักษณะและการดูแลปลาดุกอุย

อุปนิสัย
ปลา ดุกอุยเป็นปลาที่อาศัยอยู่ตามแม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึง ท้องทุ่งนา มีอุปนิสัยการกินอาหารแบบไม่เลือก ส่วนใหญ่ในธรรมชาติมักจะกินพวก ซากสัตวที่เน่าเปื่อย หนอน แมลงและลูกปลาเล็กๆ เป็นอาหาร

รูปร่างลักษณะ
ปลาดุกอุยเป็นปลาไม่มีเกล็ด รูปร่างเรียวยาว ด้านข้างแบน หัวแบนลง กะโหลกท้ายทอยป้านและโค้งมน เงื่ยงที่ครีบหูมีฟันเลื่อยด้านนอกและ ด้านในครีบหลัง ครีบก้น ครีบหางแยกจากกัน ปลายครีบหางกลมมน มีหนวด 4 คู่ มีอวัยวะพิเศาช่วยในการหายใจอยู่บริเวณช่องเหงือกมีทรวดทรงคล้ายต้นไม้ เล็กๆ ลำตัวมีสีน้ำตาลจนดำถึงเข้มซึ่งขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม เป็นปลาตระกูล Clarias เช่นเดียวกันกับปลาดุกด้าน แต่ปลาดุกอุยแตกต่างจากปลาดุกด้านที่ตรง บริเวณปลายกระดูกท้ายทอยมีลักษณะมนโค้ง นอกจากนี้ปลาดุกอุยเป็นปลาที่แข็งแรงอดทนต่อการขาดออกซิเจนได้ดีเหมือนกับ ปลาหมอ ปลาช่อน ปลาดุกด้าน และปลาสลิด ฯลฯ

เพศปลาดุกอุย
เมื่อมองจากภายนอก ด้านรูปร่างในช่วงนอกฤดูผสมพันธุ์จะสังเกตความแตกต่างระหว่างเพศผู้กับเพศ เมียได้ยาก เพราะมีรูป ร่างลักษณะที่เหมือนกันมากแต่ปลาชนิดนี้มีลักษณะของอวัยวะเพศแตกต่างกัน ระหว่างเพศผู้กับเพศเมียตรงที่ส่วนล่างของปลาใกล้กับทวารโดยเมื่อจับปลาหงาย ท้องจะเห็นอวัยวะเพศได้อย่างชัดเจนอยู่ตรงส่วนล่างของทวาร ปลาเพศผู้มีลักษณะเป็นติ่งเนื้อเรียวยาวและหลายแหลม ส่วนเพศเมียจะมีอวัยวะเป็นติ่งเนื้อค่อน ข้างกลมอยู่ทางตอนใต้ทวารหนักและมีขนาดสั้นกว่า สำหรับในช่วงฤดูผสมพันธุ์อาจบอกลักษณะแตกต่างกันได้ โดยดูที่บริเวณลำตัวของปลา ปลาดุกอุยเพศเมีย จะมีส่วนท้องป่องออกมาทั้งสองข้างเมื่อมองดูจากด้านบน ส่วนปลาเพศผู้จะมีลำตัวเรียวยาว ท้องไม่ป่องเหมือนปลาเพศเมีย

การสืบพันธุ์
1.ปลาดุกอุยเป็นปลาที่มีอายุเจริญพันธุ์ค่อนข้างเร็ว ภายในระยะเวลา 6 เดือน ก็จะเจริญเติบโตเต็มวันซึ่งสามารถนำมาเพาะพันธุ์ได้ สำหรับปลาดุก อุยในธรรมชาติจะเริ่มเพาะขยายพันธุ์ได้ตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงประมาณปลาย เดือนพฤศจิกายน รวมเป็นช่วงเวลาขยายพันธุ์ในรอบปีเป็นเวลา 8-9 เดือน

2. ปลาดุกอุยเป็นปลาที่เลือกคู่คุ่ใครคู่มัน เมื่อปลาดุกพร้อมวางไข่แล้วจะจับคู่กับปลาเพศผู้เพื่อการผสมพันธุ์ การวางไข่ในธรรมชาติแม่ปลาจะ วาง ไข่ในหลุมโพรงหรือดินใต้น้ำ ปลาจะใช้ส่วนลำตัวและหางกวาดเศษดินเศษโคลนออกจากหลุมจนหมดเหลือแต่ดินแข็งๆ เพื่อที่จะให้ไข่เกาะติดได้ ไข่ปลาดุกอุยจะมี สีน้ำตาลอ่อน จนถึงสีน้ำตาลเข้มเกือบดำ จำนวนไข่จะมีประมาณ 2,000-5,000 ฟอง ขึ้นอยู่กับขนาดและความสมบูรณ์ของแม่ปลา ปลาจะดูแลฟักไข่และเลี้ยงลูก ระยะหนึ่ง หากพบแหล่งวางไข่ของปลาดุกอุยซึ่งสังเกตเห็นว่าพ่อแม่ปลาจะว่ายน้ำเข้า ออกบริเวณนั้นอยู่ระยะหนึ่งโดยมีพฤติกรรมเช่นเดียวกันกับปลาดุกด้าน ช่วง เวลาที่พบปลาชนิดนี้วางไข่ในธรรมชาติจะพบในฤดูฝน ฤดูน้ำหลากหรือช่วงที่เปลี่ยนถ่ายน้ำใหม่ในบ่อ เนื่องจากปลาดุกอุยเป็นปลาที่แข็งแรงทนทานกิน อาหารง่าย เจริญเติบโตเร็วและอยู่รวมกันได้อย่างหนาแน่น เป็นปลาที่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภค จึงมีราคาแพงทำให้มีการเพาะเลี้ยงเป็นอาชีพได้ดีในระดับ หนึ่ง

การเพาะพันธุ์ปลาดุกอุย
พ่อแม่พันธุ์ปลาส่วนใหญ่จะได้จากธรรมชาติบ่อปลาสลิดบ่อปลาที่เลี้ยงผสมผสาน โดยรวบรวมในช่วงฤดูแล้งปลาที่ได้ส่วนใหญ่จะมีความสมบูรณ์ ์ทางเพศพร้อมที่จะนำมาเพาะพันธุ์ได้ ส่วนอีกวิธีหนึ่งคือได้พ่อแม่พันธ์จากการขุนเลี้ยงขึ้นมาเอง เมื่อมีอายุได้ประมาณ 8 เดือน จะจับขึ้นมาคัดเพื่อเพาะพันธุ์ในรอบ 1 ปี แม่ปลาตัวหนึ่งนำมาเพาะพันธุ์ได้ประมาณ 2-3 ครั้ง อายุการใช้งานของแม่ปลาแต่ละรุ่นจะใช้ได้ไม่เกิน 3 ปี

การผสมเทียม
ในการเพาะฟักโดยวิธีผสมเทียมหากแม่ปลาดุกอุยไม่บอบช้ำมากอาจนำมาผสมเทียมได้ 2-3 ครั้ง/ปี การเพาะพันธุ์ปลาดุกอุยในอดีตใช้ฮอร์โมน สกัดจำพวก Gonadotrophim hormone (H.C.G)ผสมกับต่อมใต้สมองปลาในอัตรา H.C.G. 100-150 I.U. กับต่อมใต้สมองปลาสวาย ปลาไนหรือปลา อื่นๆ อัตราส่วน 0.7-1โดสต่อแม่ปลาที่มีน้ำหนักรวม 1 กิโลกรัม โดยฉีดเข้าบริเวณกล้ามเนื้อส่วนหลังของตัวปลาเพื่อเร่งให้แม่ปลาไข่สุกพร้อม ที่จะวางไข่ซึ่งใช้ ้เวลาประมาณ 13-16 ชั่วโมง ปัจจุบันการเพาะพันธุ์ปลาดุกอุยโดยวิธีผสมเทียมใช้ฮอร์โนสังเคราะห์ เช่นSuperfact (Buseralin acetate) ในอัตราส่วน 20 ไมโครกรัมผสมกับ Motilium ( Domperidone) 0.5-1 เม็ด ต่อแม่ ปลาน้ำหนัก 1 กิโลกรัม ปลาดุกอุย จะวางไข่ในระยะเวลา 13-16 ชั่วโมง เช่นเดียวกับการใช้ฮอร์โมนสกัด แต่วิธีการใช้ฮอร์โมนสังเคราะห์ง่ายและประหยัดกว่า

ลักษณะไข่ปลาดุกอุย
ไข่ปลาที่ดีจะไหลออกจากช่องเพศของปลาเพศเมียได้ง่ายไข่แต่ละเม็ดจะแยกออกจาก กัน ไม่ติดเป็นกระจุก ไข่ที่รีดได้จะเป็นสีน้ำตาลจนถึงสีน้ำ ตาลเข้ม และควรรีดไข่ออกจากแม่ปลาได้ไม่น้อยกว่า 80 เปอร์เซนต์ จึงจะเป็นไข่ที่ดีและจะต้องไม่มีเลือดหรือของเหลวชนิดอื่นเจือปน เมื่อได้ไข่ปลามากพอแล้ว (ส่วนใหญ่จะรีดไข่จากแม่ปลาหลายๆแม่มารวมกัน) นำไข่ไปผสมกับน้ำเชื้อเพศผู้ ซึ่งแกะเอาถุงน้ำเชื้อมากจากช่องท้องของปลาเพศผู้ นำมาวางบนผ้ามุ้งเขียวแล้ว ขยี้ในน้ำที่เตรียมไว้คั้นเอาน้ำเชื้อออกมาเทราดผสมกับไข่ คนไข่กับน้ำเชื้อคลุกเคล้ากันให้ทั่วเสร็จแล้วเติมน้ำและล้างให้สะอาด 2-3 ครั้ง จึงนำไข่ไปฟัก
ส่วนอีกวิธีหนึ่ง ปล่อยพ่อแม่ปลาให้ผสมกันเองในถังซีเมนต์หรือบ่อดินที่เตรียมไว้ กรณีนี้จะไม่ต้องเสียพ่อแม่พันธุ์ไม่บอบช้ำแต่จะได้ลูกปลาจำนวน น้อยไม่เหมาะกับการทำธุรกิจเพาะพันธุ์ปลาจำหน่าย โดยต้องการลูกปลาดุกอุยเสริมบ่อเลี้ยงปลาในธรรมชาติวิธีนี้จะได้ผลดีในระดับ หนึ่ง ทั้งนี้ต้องเริ่มปล่อยปลาดุก ก่อนที่จะปล่อยปลาชนิดอื่น 10-20 วัน การเพาะพันธุ์วิธีดังกล่าวจะมีข้อเสียหากที่คับแคบปลาจะทำร้ายกันเองหนื่อ งจากการแย่งคู่ เพราะไข่ปลาจะติดกับพื้นภาชนะ นั้น แต่ควรจะคำนวนเวลาให้พ่อแม่ปลาผสมกันเองในช่วงเวลากลางคืน พ่อแม่ปลาจะได้ไม่ตกใจและไม่เครียด ไข่ปลาดุกอุยเป็นไข่ติดชนิดไม่ติดแน่นนักเมื่อหลุดจาก วัสดุที่เกาะแล้วจะไม่เกาะติดอีก ทำให้เลือกรูปแบบของการฟักได้

การฟักไข่ของปลาดุกอุยทั่วๆ ไปทำได้ 2 แบบ
1.การฟักในถุงฟัก การฟักไข่ปลาดุกอุยมีลักษระเช่นเดียวกับการฟักไข่ปลาครึ่งลอยครึ่งจมทั่วๆ ไป ซึ่งมีน้ำดันให้ไข่ลอยตัวจากก้นกรวยอย่าง สม่ำเสมอไข่ที่ได้รับการผสมหรือไขเสียจะสามารถดูดออกทิ้งได้เป็นระยะๆ โดยวิธีกาลักน้ำ การฟักไข่ปลาดุกอุยลักษณะนี้จะฟักไข่ได้อัตรารอดสูงและใช้น้ำมาก พอสมควร แต่ก็สามารถวนกลับมาใช้ใหม่ได้ ไข่ฟักออกเป็นตัวหมดจะใช้เวลาประมาณ 24-30 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิของน้ำนำลูกปลาวัยอ่อนที่ได้ไปอนุบาล ในภาชนะอื่นต่อไป ในระยะนี้ลูกปลาวัยอ่อนค่อยๆ เคลื่อนย้ายไปซุกอยู่ตามมุมหนึ่งมุมใดของบ่อและรวมตัวกันเป็นกระจุก เมื่อไข่แดงยุบหมดแล้วลูกปลาจะเริ่ม ลอยตัวว่ายไปมาเพื่อหาอาหาร และเคลื่อนไหวรวดเร็วมากในตอนกลางคืนซึ่งมีแสงสว่างน้อย เพราะปลาดุกอุยเป็นปลากินอาหารตอนกลางคืน โดยอุปนิสัยและ กินอาหารจุกว่าตอนกลางวัน

2.ส่วนการฟักไข่อีกวิธีหนึ่ง คือนำไข่ที่ผสมแล้วไปโรยไว้ให้เกาะติดกับอวนมุ้งไนลอนสีเขียวที่เตรียมไว้ โดยโรยไข่ให้กระจายติดตาข่ายอย่าง สม่ำเสมอ เมื่อฟักไข่เป็นตัวแล้วให้ลดระดับน้ำลงต่ำกว่าอวนมุ้งไนลอนประมาณ 1 เซนติเมตร จากนั้นยกอวนมุ้งไนลอนซึ่งมีไข่เสียและเปลือกไข่ออกจากบ่อเพื่อป้อง กันน้ำเน่าเสีย แล้วเติมน้ำให้เท่ากับระดับเดิม การฟักไข่วิธีนี้ควรจะมีการระบายน้ำอย่างสม่ำเสมอจึงจะได้ผลดี สำหรับเกษตรบางรายสามารถจัดระบบการหมุนเวียน น้ำได้ดีโดยโรยไข่ที่ผสมแล้วให้เกาะติดกับถังซีเมนต์ไปเลยก็ได้ การฟักไข่วิธีหลังนี้จะต้องใช้พื้นที่บ่อมาก ข้อสังเกต หากน้ำในบ่อไม่เน่าเสียลูกปลาดุกอุยที่ไข่แดง ยังไม่ยุบจะซุกตัวกันเป็นกระจุกอยู่ตามมุมบ่อ แต่ถ้าหากน้ำเน่าเสียปลาจะลอยตัวและไหลไปตามน้ำการเพาะฟัก ในปัจจุบันนิยมวิธีที่ 2

การอนุบาล
มีวิธีแตกต่างกัน โดยทั่วไปจะอนุบาลในบ่อซีเมนต์ขนาด 2x3 เมตร น้ำลึกประมาณ 20-30 ซม. ความจุของบ่อขนาดดังกล่าวสามารถอนุบาล ลูก ปลาได้ตั้งแต่ 10,000-20,000 ตัวทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการดูแลและการถ่ายน้ำ อาหารที่ให้คือไรแดง ในระยะเริ่มต้นหลังจากที่ลูกปลาฟักออกเป็นตัวประมาณ 3 วัน หลัง จากนั้นจะทยอยให้กินอาหารสำเร็จรูปพวกพาวเดอร์ฟีด(powder-feed)หรือไข่ตุ๋น อนุบาลลูกปลาประมาณ 12-15 วัน ลูกปลาจะมีขนาด2-3 ซม.สามารถ นำไป เลี้ยงเป็นปลาเนื้อ นอกจากนี้ยังมีการอนุบาลที่นิยมกันมากอีกวิธีหนึ่ง คือ การอนุบาลในบ่อดินทั่วๆ ไป ขนาด 400-1,600 ตารางเมตร
ในระยะแรกเติมน้ำเข้าบ่อที่ใส่ปูนขาวและกำจัดศัตรูปลาเรียบร้อยแล้วให้ระดับ น้ำประมาณ 30-50 ซม. หลังจากนั้นค่อยๆ เติมน้ำเพิ่มขึ้นในระยะ ต่อมาการอนุบาลแบบนี้จะอนุบาลลูกปลาได้จำนวนมากและลูกปลาเติบโตเร็ว เนื่องจากในบ่อดิยจะเกิดอาหารธรรมชาติมากมายหลายชนิด ส่วนอาหารใช้ ชนิดเดียวกันกับที่อนุบาลในบ่อซีเมนต์
การให้อาหารควรเน้นให้ระยะเวลาพลบค่ำเป็นหลัก เพราะเวลานี้ลูกปลาจะตื่นตัวมากตามสัญญาณของสัตว์หากินกลางคืน การอนุบาลลูกปลาดุก วัยอ่อนปัญหาหลักคือ โรคปลา เนื่องจากการเลี้ยงอย่างหนาแน่นจะเกิดโรคบ่อยมากจึงต้องเอาใจใส่ในเรื่อง ความสะอาด การให้อาหารมากเกินไปเศษอาหารจะเหลือ มากเกิดการหมักหมด บางครั้งต้องใช้น้ำยาเคมีและยาปฏิชีวนะเข้าช่วยบ้าง ทั้งนี้ต้องดูแลอย่างใกล้ชิด ปัญหาจะเกิดมากในช่วงฝนตกชุกอากาศเย็นลูกปลาจะอ่อนแอ เติบโตช้า เป็นโรคง่าย ตรงกันข้ามหากอนุบาลในช่วงระยะเวลาที่อากาศร้อนฝนไม่ตกติดต่อกัน ลูกปลาดุกจะกินอาหารได้มากและเติบโตเร็ว แตกต่างกับการเลี้ยงใน ช่วงฤดูฝนตกชุกซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าปลาดุกจะกลัวฝนและชอบอากาศร้อน
ฉะนั้นการอนุบาลลูกปลาดุกอุยและการนำลูกปลาดุกมาเลี้ยง ควรคำนึงถึงเรื่องเวลาเช่นกันในช่วงระยะเวลาที่ฝนตกชุกบางครั้งจำเป็นต้อง ใช้ปูนขาว ละลายน้ำสาดให้ทั่วๆ บ่อควบคู่กันไปด้วย เพื่อปรับสภาพน้ำให้ปกติซึ่งจะใช้ในอัตราส่วน 60 กก./ไร่ โดยทยอยแบ่งใส่ประมาณ 3 ครั้งๆ ละ 20 กก./ไร่ ติดต่อกัน เป็นเวลา 3 วัน จะช่วยให้คุณภาพน้ำดีขึ้นและความเป็นกรดของน้ำลดลง การอนุบาลในบ่อดินนี้จะใช้เวลาประมาณ 3-4 สัปดาห์ จะได้ลุกปลามีขนาดความยาว 5-7 ซม. ทยอยนำออกจำหน่ายหรือเลี้ยงต่อไป

ข้อควรระวัง
ในการอนุบาลลูกปลาทั้งสองวิธีข้างต้นอีกประการหนึ่งก็คือ จะต้องกำจัดลูกปลาดุกอุยรุ่นก่อนๆ ให้หมด หากมีการใช้บ่อ อนุบาลลูกปลาซ้ำหรือการใช้ลูกปลาดุกอุยที่มีอายุและขนาดต่างกันมาเลี้ยงรวม กัน ลูกปลาจะเสียหายมากเนื่องจากการกินกันเอง ฉะนั้นตามซอกมุมรอยแตกหรือที่ๆ มีน้ำ ขังเพียงเล็กน้อยในการล้างทำความสะอาดบ่อแต่ละครั้ง โดยเฉพาะบ่อดินมักจะกำจัดปลารุ่นก่อนๆ ไม่หมดปลารุ่นหลังจะถูกปลารุ่นก่อนๆ กัดกินเสียหายเป็น จำนวนมากและเช่นเดียวกันหากการอนุบาลใช้ระยะเวลามากกว่าที่กล่าว ลูกปลาตัวใหญ่จะกินลูกปลาตัวเล็ก เนื่องจากปลามีการเจริญเติบโตแตกต่างกันทำให้ลูกปลา เหลือน้อยมีปริมาณลดลงตามลำดับการเลี้ยงปลาดุกในระยะแรกๆ ที่มีการเพาะพันธุ์ปลาดุกอุยขึ้นมาได้ใหม่ๆ และอนุบาลลูกปลาให้มีขนาด 2-3 ซม.แล้วจึงนำลูกปลา ไปเลี้ยงในบ่อดินอัตราการปล่อยค่อนข้างหนาแน่น ประมาณ 10-20 ตัวต่อตารางเมตรหรือ 16,000-32,000 ตัวต่อไร่ หรืออาจมากกว่านี้ ความหนาแน่นที่พอ เหมาะนอกจากจะหวังผลในแง่ของผลผลิตต่อไร่แล้วยัง มีผลต่อการกินอาหารของปลาในบ่อมาก เพราะลูกปลาจะเหนี่ยวนำพากันกินอาหาร ได้ดีซึ่งเป็นธรรมชาติของปลาทั่วๆไปอาหารที่ให้กับการ เลี้ยงปลาดุกอุยในบ่อดินนี้เช่นเดียวกับการอนุบาลลูกปลาวัยอ่อนและจะทยอยปน ใส้ไก่หรืออื่นๆที่ราคา ถูก และหาได้ตามท้องถิ่นให้ทีละน้อยและเพิ่มขึ้นเรื่อยๆในระยะ เวลาต่อมา สำหรับการเปลี่ยนอาหารจะต้องหัดให้ปลากินโดยใช้ระยะเวลาพอสมควร ในกรณีที่เป็น อาหารสดจำพวกปลาเป็ดนำมาผสมรำละเอียด อัตราส่วน 9:1
ปลาอายุ 41-60 วัน ให้อาหาร 6-8% ของน้ำหนักปลา
ปลาอายุ 61-80 วัน ให้อาหาร 5-6% ของน้ำหนักปลา
ปลาอายุ 81-120 วัน ให้อาหาร 4-5% ของน้ำหนักปลา
การตรวจสอบในบ่อว่ามีปลามากน้อยเพียงใด เพื่อจัดปริมาณอาหารให้ตามที่กำหนด พร้อมทั้งหมั่นสังเกตว่าอาหารที่ให้ปลา กินเหลือตกค้างในบ่อหรือไม ่อาหารที่เหลือจะลอยเป็นกลุ่มๆ ตามผิวน้ำ แสดงว่าปลากินไม่หมดจะทำให้น้ำเน่าเสียและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายจึง ต้องลดปริมาณอาหาร

การเปลี่ยนถ่ายน้ำ
เมื่อเลี้ยงปลาไประยะหนึ่งน้ำในบ่อจะมีคุณภาพเสื่อมลง เนื่องจากสิ่งขับถ่ายออกจากตัวปล และเศษอาหารเหลือตกค้างในบ่อจำเป็นต้องมีการ เปลี่ยนน้ำโดยระบายน้ำออกประมาณ 3/4 ของบ่อ และเติมน้ำใหม่เข้าแทนที่ทั้งนี้การถ่ายเทน้ำอาจสังเกตว่า ถ้าปลากินอาหารน้อยลงจากปกติหรือมีอาหารเหลือลอย อยู่ในบ่อมากก็แสดงว่าถึงเวลาที่ต้องถ่ายเทน้ำ หรือน้ำในบ่อมีกลิ่นเหม็นมากสีของน้ำเปลี่ยนเป็นสีขาวขุ่นคล้ายน้ำนมต้องรีบ เปลี่ยนน้ำทันที หากไม่อาจถ่ายเทน้ำได้ใน ช่วงนั้นควรใช้เกลือแกงอัตรา 3-4 กิโลกรัมต่อน้ำ 1 ลูกบาศก์เมตร สาดให้ทั่วบ่อ หลังจากนั้น 3-4 วัน จึงเปลี่ยนน้ำใหม่
การถ่ายเทน้ำในบ่อจะไม่บ่อยครั้งเมื่อปลามีขนาดเล็กควรใช้วิธีการเพิ่มน้ำทด แทน ปลาที่เติบโตขึ้นการถ่ายเทน้ำแต่ละเดือนก็จะมากขึ้นตามไป ด้วยและถ้าปริมาณน้ำฝนไหลลงบ่อมากๆ ควรระบายน้ำออกจากบ่อประมาณ 3/4 ของบ่อ แล้วเติมน้ำใหม่ให้ได้ปริมาณเท่าเดิม ต่อจากนั้นใช้เกลือแกงในอัตรา 150 กิโลกรัมต่อไร่สาดให้ทั่วบ่อ

การป้องกันโรค
หลังจากปล่อยปลาลงเลี้ยงและใช้ฟอร์มาลีนสาดกระจายทั่วบ่อความเข้มข้น 25-40 ส่วนล้าน สองสัปดาห์ทำซ้ำอีกครั้งเพื่อ กำจัดพวกปลิงใสที่เกาะอยู่ตามเหงือกและครีบ ครั้งที่ 3 จะห่างจากครั้งที่ 2 ประมาณ 1 เดือน

ผลผลิต
ปลาดุกที่เลี้ยงจะเริ่มทยอยจับได้ตั้งแต่ปลาอายุ 8-10 เดือน ซึ่งจะมีขนาด 6-10 ตัว/กก. แต่ยังมีขนาดเล็กไม่ตรงกับความต้องการของตลาด สีสัน ภายนอกจะดูดีสู้ปลาจากธรรมชาติไม่ได้ แต่เมื่อนำมาบริโภครสชาติจะไม่ต่างกัน เนื้อปลาเมื่อสุกแล้วจะดูนิ่มและเหลืองน่ารับประทาน

การเลี้ยงปลาดุกอุยชนิดเดียวกันนี้จะเลี้ยงกันอย่างแพร่หลายอยู่ระยะหนึ่ง แล้วหายไป ต่อมามีการนำปลาดุกอุยไปปล่อยเลี้ยง รวมกับปลานิล ปลาสวาย ปลาช่อน แต่จะปล่อยปลาดุกอุยตัวโต โดยไม่ได้ปล่อยปลาดุกอุยลงเลี้ยงเป็นปลาหลักเพียงแต่ปล่อยลงไปสมทบใน ปริมาณไม่มากนักก็จะได้ปลาขนาดใหญ่สีสันดีขึ้นไม่แตกต่างจากปลาธรรมชาติและ จำหน่ายได้ราคาดี เกษตรกรบางรายนำปลาดุกอุยไปปล่อย ร่วมกับในนาปลาสลิดโดยหวังผลข้างต้น ซึ่งได้ปลดีเช่นเดียวกัน

ทั้งนี้ในปัจจุบันผู้เลี้ยงปลาดุกทั่วประเทศมักนิยมเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุย ซึ่งเป็นปลาที่ได้จากการผสมข้ามพันธุ์ระหว่างปลาดุก รัสเซียหรือปลาดุกอัฟริกัน เพศผู้กับปลาดุกอุยเพศเมียปลาดุกลูกผสมที่ได้จะเติบโตเร็ว มีความต้านทานโรคสูง รูปร่างสีสันดีและเนื้อมีรสชาติใกล้เคียงกับปลาดุกอุย การเลี้ยงปลาชนิดนี้ปัจจุบัน ประสบผลสำเร็จยึดเป็นอาชีพหลักได้ทำให้การเลี้ยงแพร่กระจายทั่วไป โดยเฉพาะในเขตพื้นที่ที่หาอาหารปลาได้ง่ายราคาถูกและฝนไม่ตกชุกมากนัก จนกระทั่ง ปัจจุบัน ปลาดุกบิ๊กอุยได้เข้ามาแทนที่การเลี้ยงปลาดุกด้านอย่างสิ้นเชิง และไม่พบผู้เลี้ยงปลาดุกด้านเป็นการค้าซึ่งในอดีตมีอยู่มากมายได้หายไปหมด สิ้นจากประเทศ ไทยในขณะนี้

โรคปลาดุกอุย
โรคที่เกิดจากขึ้นกับปลาดุกอาจเกิดจากการขาดสารอาหารเช่น วิตามิน โรคที่เกิดจากพยาธิประเภทปลิงใส เชื้อรา และโรคที่เกิดจากบักเตรีแอโรโม นาส

การรักษาและการป้องกัน
การป้องกันไม่ให้เกิดโรคเป็นสิ่งที่ดีโดยให้ความสนใจเกี่ยวกับคุณสมบัติของ น้ำ ความเป็นกรดเป็นด่างและเตรียมสารเคมี อาทิ ปูนขาว เกลือแกง เพื่อปรับสภาพน้ำ

ต้นทุนการเลี้ยง
ต้นทุนการเลี้ยงปลาแบ่งอกได้เป็น 2 ประเภท คือ
1.ต้นทุนคงที่ ได้แก่ ค่าที่ดิน ค่าเช่า สิ่งก่อสร้าง ค่าแรงงานประจำ อุปกรณ์ราคาแพงและค่าเสื่อมราคาทรัพย์สิน ต้นทุนส่วนนี้จะคงที่ไม่ว่าผล ผลิตจะเพิ่มขึ้นหรือลดลง ดังนั้นถ้าได้ผลผลิตมากต้นทุนคงที่ต่อกิโลกรัมก็จะลดน้อยลง ในทางตรงกันข้ามถ้าผลผลิตต่ำต้นทุนคงที่ต่อกิโลกรัมจะเพิ่มขึ้นซึ่ง เกษตรกรส่วนใหญ่มักลืมนึกถึงต้นทุนส่วนนี้
2.ต้นทุนผันแปร ได้แก่ ค่าพันธุ์ปลา ค่าอาหาร สารเคมี ยา น้ำมันเชื้อเพลิงและหล่อลื่น กระแสไฟฟ้า ค่าซ่อมแซมอุปกรณ์ต่างๆ ค่าแรงงานชั่ว คราวและภาชนะอุปกรณ์ที่เสื่อมสภาพ ต้นทุนผันแปรนี้เป็นต้นทุนส่วนใหญ่ในการเลี้ยงปลาแต่ละรุ่น โดยพบว่าต้นทุนค่าอาหารจะสูงถึง 70-85% ของต้นทุน ทั้งหมด

การตลาด
การตลาด เป็นปัญหาใหญ่ที่มีอิทธิพลต่อการเลี้ยงปลามากที่สุด ตลาดปลาดุกนั้นเป็นในลักษณะที่มีคนกลางเป็นผู้ตระเวนจับปลาโดยตรงจากบ่อ เลี้ยงแล้วนำไปส่งพ่อค้าขายปลีดตามที่ต่างๆ ตลาดใหญ่จะอยู่ที่จังหวัดอ่างทอง อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา กรุงเทพฯ ภาคอีสาน ภาคเหนือ ผู้จับปลามี บทบาทค่อนข้างสูงในการกำหนดราคาปลาร่วมกับความต้องการของตลาด ราคาปลาดุกเปลี่ยนแปลงค่อนข้างรวดเร็ว ขึ้นกับปริมาณผลผลิตที่ออกสู่ตลาดและฤดู กาล โดยทั่วไปพบว่าช่วงเดือนกุมภาพันธ์ -เดือนเมษายน ราคาปลาดุกมักจะราคาถูกเนื่องจากมีปลาธรรมชาติออกสู่ตลาดมาก การเพิ่มปริมาณและมูลค่าก็คือการ ขยายตลาดต่างประเทศ การถนอมและแปรรูปในลักษณะผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ซึ่งเป็นการกระจายผลผลิตอีกทางหนึ่ง

ที่มา: http://www.rakbankerd.com/agriculture/open.php?id=380&s=tblanimal











ภาพวิธีการสร้างบ่อปลาดุกด้วยท่อซีเมนต์
หลังจากได้มีการออกอากาศเทปโทรทัศน์ รายการ ลุงเกษตร (ขออภัย เวปมาสเตอร์จำขื่อรายการไม่ได้แต่ก็ประมาณนี้ครับ) ได้มีผู้ให้ความสนใจโทรมาขอเอกสาร และวิธีการาร้างบ่อเลี้ยงปลาดุกจำนวนมาก เวปมาสเตอร์ได้มีโอกาสไปบ้าน จึงได้รวบรวมภาพการสร้างบ่อในแฟ้มภาพเก่าๆ มานำเสนอ เพื่อให้เห็นวิธีการที่ชัดเจนขึ้น คาดหวังว่าจะเป็นประโยชน์กับผู้ที่ให้ความสนใจ สำหรับประมาณการราคาค่าก่อสร้างบ่อเลี่ยง ประมาณ 300-400 บาท โดยค่าใช้จ่ายที่สำคัญ คือราคาท่อซีเมนต์ ซึ่งอาจจะแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ เรามาเริ่มกันเลยนะครับ
ขั้นตอนแรก
เลือกพื้นที่ ที่จะสร้างบ่อเลี้ยง อาจจะเลือกสถานที่ ที่มีร่มเงาเนื่องจากจะช่วยลดอุณหภูิมของน้ำในบ่อเลี้ยง และจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการซื้อสแลนมาทำร่มเงาในการควบคุมอุหภูมิของนำ้ (กรณีที่ไม่มีสถานที่เป็นร่มเงาได้) หลังจากเลือกสถานที่เรียบร้อยแล้ว ก็นำท่อมาวางในตำแหน่งที่ต้องการ และนำดิน หรือทราย มารองพื้นในท่อพอประมาณ โดยให้เกลี่ยเป็นลักษณะรูปกรวย ให้มีศูนย์ของกรวยตรงศูนย์กลางของวงรอบท่อซีเมนต์ แล้วราดน้ำ และอัดดิน/ทรายให้แน่นเพียงพอที่จะไม่ทำให้ทรุดเมื่อลาดซีเมนต์ ตามรูป ครับ
ขั้นตอนที่สอง
ขั้นตอนนี้เป็นการวางท่อระบายน้ำซึ่ึ่งมีความจำเป็นเนื่องจากปลาดุกจะตายเมื่อน้ำเสียอันเกิดจากการให้อาหาร โดยนำข้องอ ที่ต่อกับท่อระบายน้ำ วางลอดใต้บ่อซีเมนต์ โดยวางตำแน่งข้องอตรงกรวยที่ได้ทำเมื่อขั้นตอนแรก ตามรูป นะครับ ทั้งนี้ ท่อระบายน้ำควรมีความยาวยื่นออกนอกบ่อพอประมาณ ที่จะใส่ข้องอ ได้อีก
ขั้นตอนที่สาม
ปูพื้นซีเมนต์ให้เป็นรูปกรวย เพื่อประโยชน์การทำความสะอาดบ่อได้สะดวก
ขั้นตอนที่สี่
การต่อท่อระบายน้ำทิ้งนอกบ่อ ให้ใช้ข้องอต่อโดยไม่ต้องใช้กาว วัตถุประสงค์เพื่อให้สามารถขยับท่อระบายน้ำเสียได้ และต่อท่อกับข้อ งออีกครั้งเพื่อเป็นคันโยก แต่หน้าที่ท่อคันโยกมีความสำคัญยิ่งกว่านั้น คือ ท่อดังกล่าว จะทำหน้าที่รักษาระดับน้ำในบ่อ ตามความต้องการ และขนาด/*ปริมาณปลา ตั้งแต่ลูกปลา จนถึงขนาดปลาที่โตเต็มที่ (ลูกปลาครั้งแรกปล่อยใช้้ระดับน้ำไม่เกินครึ่งบ่อ) เมื่อต้องการปล่อยน้ำทิ้งท่านต้องการระดับน้ำในบ่อระดับใด ท่านก็ยกคันโยกไว้ที่ระดับต้องการ
ขั้นตอนที่ห้า
ยินดีด้วยครับ... เสร็จแล้วครับ แช่น้ำเพื่อล้างบ่อประมาณ 1-2 สัปดาห์เป็นอย่างน้อย ก่อนปล่อยลูกปลา นะครับ หากไม่แช่น้ำไว้ เดี่ยวลูกปลาจะตายเนื่องจากมีสารซีเมนต์ละลายออกมาครับ
ส่งท้าย.....ด้วยปลาที่เ้ลี้ี่ยง ท่านอาจจะทยอยลดอาหาร และใช้พืชแทนอาหาร เป็นปลามังสวิรัต ก็ได้นะครับ แต่ต้องทยอยให้นะครับ ลดค่าใช้จ่ายซื้ออาหารปลาได้อีกระดับ แต่ที่สำคัญ แนวคิดการเลี้ยงปลาแบบนี้ เป็นการใช้เวลาว่างสันทนาการในครอบครัวนะครับ เลี้ยงเพื่อเป็นอาหารในครอบครัวและลดรายจ่ายในครอบครัว ส่วนที่เกินจากเป็นอาหารในครอบครัวอาจจะขายเพื่อนบ้าน เพื่อการสร้างความสมานฉันฺท์ของคนในหมู่บ้านนะครับ

แนวทางการเลี้ยงปลาดุก

แหล่งที่จะรวบรวมลูกปลาดุก มักจะเป็นบริเวณคูหรือคลองที่มีกระแสน้ำเล็กน้อย หรือในน้ำนิ่งตามท้องทุ่ง และในแหล่งน้ำจืดซึ่งมีระดับน้ำตั้งแต่ 50 เซนติเมตรขึ้นไป ลักษณะของแหล่งที่ปลาดุกจะวางไข่ตามธรรมชาติ มักจะเป็นบริเวณท้องทุ่งที่มีหญ้าปกคลุมเล็กน้อย หรือที่บริเวณชายน้ำ ริมคู คลอง ปลาดุกจะทำหลุมหรือโพรง ปากโพรงจะอยู่ต่ำกว่าระดับผิวน้ำ 20-25 เซนติเมตร ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 15-30 เซนติเมตร

วิธีรวบรวมลูกปลาดุกสามารถกระทำได้ง่าย ปกติแล้วผู้รวบรวมลูกปลามักลงไปในน้ำ ใช้มือคลำตามชายน้ำตามทำเลที่เหมาะสมครั้งแรกเมื่อพบหลุมหรือโพรง ควรใช้มือค่อย ๆ คลำลงไปที่ก้นหลุมหรือโพรงนั้น ถ้าลักษณะก้นหลุมหรือโพรงลื่นเป็นมัน แสดงว่าปลาดุกกำลังกัดแอ่งเพื่อที่จะวางไข่ สังเกตให้ดีจะเห็นพ่อแม่ปลาดุกว่ายเข้าออกอยู่ในบริเวณนั้น ปลาดุกเมื่อ วางไข่แล้ว ไข่จะติดอยู่ที่ผิวดิน หรือติดกับรากหญ้าที่บริเวณก้นหลุม ปลาดุกวางไข่ใหม่ ๆ เมื่อเอามือคลำจะรู้สึกว่ามีเม็ดเล็ก ๆ ติดอยู่ที่ก้นหลุมหากหยิบขึ้นมาพร้อมกับดินในบริเวณนั้น จะเห็นเม็ดสีเหลืองอ่อนขนาดประมาณเม็ดสาคูเล็ก ๆ ปนอยู่ แต่ถ้าไข่ฟักออกเป็นตัวแล้ว เมื่อเอามือคลำลงไปจะรู้สึกว่ามีสิ่งที่เคลื่อนไหวมากระทบมือ แสดงว่ามีลูกปลาดุกอยู่ในที่นั้น เพื่อให้แน่ใจว่าลูกปลาที่มีอยู่ในหลุมโพรงนั้นแข็งแรงพอที่จะตักออกไป เลี้ยงในบ่อได้หรือไม่ ผู้รวบรวมลูกปลามักจะใช้กระชอนช้อนลูกปลาขึ้นมาดู ถ้าสังเกตเห็นว่าลูกปลายังมีถุงไข่แดงติดอยู่ที่ส่วนท้อง ก็ควรทิ้งไว้ในหลุมหรือโพรงนั้นอีกประมาณหนึ่งสัปดาห์แล้วจึงค่อยกลับมาช้อน เอาลูกปลาไปเลี้ยงในบ่ออนุบาลภายหลัง


การเลี้ยงปลาดุก
การอนุบาลลูกปลาดุก
การอนุบาลลูกปลา ทำได้หลายวิธีตามความจำเป็นของผู้เลี้ยงแบ่งออกได้ดังต่อไปนี้
ก. การอนุบาลในบ่อดิน ลูกปลาดุกจะเจริญเติบโตได้ดีกว่าการอนุบาลลูกปลาในบ่อชนิดอื่น ทั้งนี้เนื่องจากในบ่อดินมีอาหารธรรมชาติสมบูรณ์ ช่วยให้ลูกปลาเจริญเติบโตได้เร็ว บ่อดินที่ใช้อนุบาลลูกปลาแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
1. บ่อดินขนาดเล็ก เหมาะสำหรับผู้ประสงค์จะเลี้ยงลูกปลาไว้ชั่วระยะหนึ่งเพื่อจำหน่าย บ่อขนาดนี้นอกจากจะเป็นบ่อพักลูกปลาแล้วยังสะดวกในการคัดขนาดและดูแลรักษา การคัดขนาดมีความจำเป็นสำหรับการเลี้ยงปลาดุกเป็นอย่างมาก เพราะปลาดุกเป็นปลากินกันเอง ปลาที่มีขนาดโตกว่าจะกินปลาที่มีขนาดเล็กกว่า บ่อดินขนาดเล็กที่ใช้อนุบาลลูกปลาดุกทั่วไป ควรมีขนาด 2-3 ตารางเมตร น้ำลึกประมาณ 60 ซม. และควรปล่อยลูกปลาขนาดเล็กลงเลี้ยงประมาณ 10,000-30,000 ตัว

2. บ่อดินขนาดใหญ่ เหมาะสำหรับผู้ที่จะเลี้ยงลูกปลาดุกให้เติบโตเป็นขนาด 3-5 ซม. เพื่อไว้จำหน่าย บ่อดังกล่าวนี้เมื่อปล่อยปลาลงเลี้ยงแล้วไม่จำเป็นต้องเอาใจใส่กับลูกปลานัก เพราะการปล่อยลูกปลาลงในบ่อขนาดใหญ่ดังกล่าว อัตราส่วนที่ปล่อยจะต้องมีปริมาณน้อยกว่าลูกปลาที่ปล่อยเลี้ยงในบ่อขนาดเล็ก โดยทั่วไปจะปล่อยลูกปลาลงเลี้ยงโดยเฉลี่ยประมาณตารางเมตรละ 1,000 ตัว ลูกปลาดุกที่อนุบาลในบ่อขนาดใหญ่นี้จะมีการเจริญเติบโตรวดเร็ว เพราะในบ่อมีอาหารธรรมชาติเพียงพอข้อเสียสำหรับการอนุบาลลูกปลาในบ่อขนาด ใหญ่นี้คือ ถ้าเลี้ยงลูกปลาซึ่งมีขนาด 3-5 ซม. อาจมีอัตราการตายได้ประมาณ 30-40 เปอร์เซ็นต์ ฉะนั้น การคัดขนาดของลูกปลาโดยใช้ปลาขนาดเดียวกันเลี้ยงรวมกัน จะได้ผลดีกว่าการเลี้ยงปลาคละขนาดรวมกันไป บ่อดินขนาดใหญ่ที่ใช้เลี้ยงลูกปลาดุก ควรมีขนาด 100-200 ตารางเมตร



ข. การอนุบาลในบ่อหรือถังซีเมนต์ วิธีนี้สะดวกในการถ่ายเปลี่ยนน้ำ ตลอดจนการดูแลรักษาและการคัดขนาดปลาที่โตออกแต่ในบ่อหรือถังซีเมนต์นี้ไม่มี อาหารธรรมชาติเพียงพอ จึงทำให้ลูกปลาเติบโตช้ากว่าที่ควร นอกจากนั้นข้อเสียอีกอย่างหนึ่ง คือ อาจทำให้เกิดโรคได้ง่าย บ่อหรือถังซีเมนต์ที่นิยมใช้มีขนาดประมาณ 1 ตารางเมตร สูงประมาณ 50 เซนติเมตร

ค. การอนุบาลด้วยกระชัง วิธีนี้เหมาะสำหรับผู้ที่อยู่ใกล้กับคูคลองหรือแหล่งน้ำ ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะใช้แหล่งน้ำดังกล่าวเป็นที่ลอยกระชัง ส่วนดีของการอนุบาลลูกปลาด้วยวิธีนี้คือ น้ำถ่ายเทได้ตลอดเวลา นอกจากนั้นยังสะดวกต่อการคัดลูกปลาที่ต่างขนาดออก กระชังที่ใช้กันอยู่โดยทั่วไปทำด้วยตะแกรงลวดอะลูมิเนียม ขนาดตาเล็กเท่าช่องตาของมุ้งลวด มีขนาดกว้างประมาณ 1 เมตร ยาว 1.5 เมตร ลึก 90 เซนติเมตร กระชังขนาดนี้ใช้อนุบาลลูกปลาได้ประมาณ 20,000 ตัว เหมาะสำหรับอนุบาลลูกปลาดุกไว้เพียงชั่วคราว

การเลี้ยงปลาดุกขนาดใหญ่
ก. การเตรียมบ่อสำหรับเลี้ยงปลาดุกนั้น ควรจะได้พิจารณาเป็นพิเศษ แตกต่างกว่าการเตรียมบ่อเลี้ยงปลาชนิดอื่น ทั้งนี้เนื่องจากปลาดุกมีนิสัยชอบหนีออกจากบ่อเลี้ยง โดยเฉพาะขณะที่ฝนตกน้ำไหลลงไปในบ่อ ปลาจะว่ายทวนน้ำออกไป ฉะนั้นการเตรียมบ่อ ควรจะได้หาทางป้องกันไว้ด้วย โดยทั่ว ๆ ไป ผู้เลี้ยงปลาดุกมักนิยมล้อมขอบบ่อด้วยรั้วไม้รวกหรือเฝือก ซึ่งมีความสูงประมาณ 50 เซนติเมตรหรืออาจใช้ต้นหมากทาบขนานกับขอบบ่อโดยรอบ สำหรับผู้ที่มีบ่ออยู่ใกล้กับแหล่งน้ำธรรมชาติ เช่น คลอง คู ควรพิจารณากรุภายในบ่อด้วยไม้ เพื่อป้องกันไม่ให้ปลาเจาะชอนหนีไปได้

ข. อัตราการปล่อยปลาลงเลี้ยง ในเนื้อที่ 1 ตารางเมตร ควรปล่อยปลาที่มีขนาดยาว 5-7 เซนติเมตร ประมาณ 60 ตัว ถ้าปลามีขนาดเล็กกว่านี้ควรปล่อยประมาณตารางเมตรละ 70 ตัว สำหรับบ่อที่มีการถ่ายเทน้ำได้สะดวก จะเพิ่มจำนวนปลาให้มากกว่านี้เล็กน้อยก็ได้ แต่ไม่ควรปล่อยให้มากเกินไปจนแน่น จะทำให้ปลาเติบโตช้า และทำอันตรายกันเอง

อาหารและการให้อาหาร
ก. อาหารลูกปลา ลูกปลาซึ่งมีถุงไข่แดงยุบหมดแล้ว ควรจะให้อาหารจำพวกไรน้ำต่อไปประมาณ 5-7 วัน ในเวลาเช้าและเย็น ต่อจากนั้นก็ให้อาหารจำพวกเนื้อสัตว์ ได้แก่

1. อาหารจำพวกแมลง เช่น ปลวก ลูกน้ำ ไรน้ำ ฯลฯ
2. เนื้อสัตว์ เช่น เศษเนื้อวัว ควาย ปลา ไส้เป็ด ไส้ไก่ เลือด และเครื่องใน ฯลฯ
3. เนื้อกุ้ง หอย และปูต่าง ๆ
4. เนื้อสัตว์จำพวกกบ เขียด และอื่น ๆ

อาหารจำพวกเนื้อสัตว์เหล่านี้จะต้องนำมาสับจนละเอียด แต่สำหรับเนื้อปลานั้น ควรใช้ต้มทั้งตัวให้สุกเสียก่อน แล้วจึงให้ลูกปลากินระวังอย่าให้อาหารมากจนเกินขนาดจะทำให้ปลาตายได้ เนื่องจากอาหารย่อยไม่ทัน ทั้งอาหารที่เหลือก็จะทำให้น้ำเสียได้ง่าย นอกจากอาหารจำพวกเนื้อแล้ว อาหารจำพวกพืช เช่น กากถั่ว รำต้ม กากมัน ก็นิยมให้เป็นอาหารสมทบ

การให้อาหารลูกปลา ควรให้วันละประมาณ 5 เปอร์เซ็นต์ ของน้ำหนักรวมของปลาที่เลี้ยงทั้งหมด แต่ควรสังเกตดูว่าอาหารที่ให้จะเหลือมากน้อยเพียงใด ถ้าเหลือมากควรลดปริมาณอาหารลงบ้าง การให้อาหารแต่ละครั้ง ควรให้ในปริมาณที่ปลาจะกินได้หมดในช่วงเวลาที่ไม่มากนัก

ข. อาหารปลาใหญ่ ปลาดุกเป็นปลาที่กินอาหารได้ทั้งเนื้อและผักซึ่งพอจะแบ่งได้เป็นพวกดังนี้

1. อาหารจำพวกเนื้อ ได้แก่ เนื้อปลา เนื้อสัตว์ต่าง ๆ ที่เหมาะสมตามแต่จะหาได้ หรือเครื่องใน เช่น เครื่องในของโคและสุกร ตลอดจนเลือดสัตว์และพวกแมลง เช่น ปลวก หนอน ตัวไหม และไส้เดือน ฯลฯ

2. อาหารจำพวกพืชผัก ได้แก่ รำข้าว ปลายข้าว กากถั่ว กากมัน แป้ง ข้าวโพด แป้งมัน และผักต่าง ๆ เพื่อเป็นการเพิ่มอาหารหรืออาจจะให้มูลสัตว์ เช่น มูลไก่ มูลหมู มูลแพะ ฯลฯ โดยจัดตั้งคอกเลี้ยงสัตว์นั้น ๆ ให้อยู่ใกล้กับบ่อปลา มูลสัตว์เหล่านี้จะเป็นอาหารทั้งทางตรงและทางอ้อมแก่ปลาดุกได้เป็นอย่างดี โดยทั่ว ๆ ไปแล้ว ปลาดุก ชอบกินอาหารประเภทเนื้อสัตว์มากกว่าอาหารประเภทพืชและประเภทแป้ง แต่การให้อาหารประเภทเนื้อสัตว์เพียงอย่างเดียว จะทำให้ปลาเจริญเติบโตไม่ได้สัดส่วน เช่น อาจทำให้ตัวอ้วนสั้น มีไขมันมากเกินไป ดังนั้นเพื่อจะให้ปลาเจริญเติบโตได้สัดส่วนและมีน้ำหนักดี ควรจะให้อาหารประเภทเนื้อในอัตรา 30-50 เปอร์เซ็นต์ของอาหารประเภทพืช และแป้ง

บริเวณที่ให้อาหารในแต่ละครั้งควรจะมีมากกว่า 1 แห่งและควรให้เป็นเวลา เพื่อฝึกให้ปลารู้เวลาและกินอาหารได้ทั่วถึงกัน ไม่เป็นการแออัด และแย่งอาหารทำร้ายกันเอง ปริมาณของอาหาร ควรให้ประมาณ 5 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักของปลาทั้งหมดที่ปล่อยเลี้ยงในบ่อ